สมบัติของดิน

ดิน
ดิน (Soil) คือ วัตถุธรรมชาติที่ปกคลุมผิวโลกอยู่บางๆ เกิดขึ้นจากผลของการแปรสภาพหรือผุพังของหินและแร่ และอินทรียวัตถุผสมคลุกเคล้ากัน โดยมีส่วนประกอบดังนี้ 
  • อนินทรียวัตถุ (Mineral matter) ได้แก่ส่วนของแร่ต่างๆ ภายในหินซึ่งผุพังสึกกร่อนเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย โดยทางเคมี ฟิสิกส์ และชีวเคมี
  • อินทรียวัตถุ (Organic matter) ได้แก่ส่วนที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังหรือสลายตัวของซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกัน มีอยู่ประมาณ
  • น้ำ ในสารละลายซึ่งพบอยู่ในช่องระหว่างเม็ดดิน (Aggregate) หรืออนุภาคดิน (Particle) 
  • อากาศ อยู่ในที่ว่างระหว่างเม็ดดินหรืออนุภาคดิน แก๊สส่วนใหญ่ที่พบทั่วไปในดิน ได้แก่ ไนโตรเจนออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์
        ปริมาตรของแต่ละส่วนประกอบของดินที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก โดยทั่วไปจะมีแร่ 45% อินทรียวัตถุ 5%น้ำ 25% และอากาศ 25% ดังภาพที่ 1


                               

ภาพที่ 1 องค์ประกอบของดิน
   
    ชั้นดินของแต่ละพื้นที่มีความลึกไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ บนยอดเขาซึ่งมีแต่หินแข็งมีชั้นดินบางๆ แต่ที่ราบลุ่มซึ่งเป็นแหล่งสะสมของตะกอนมีชั้นดินหนา เราศึกษาคุณสมบัติของดินแต่ละชั้นจากหน้าตัดดิน 
        เราจำแนกเนื้อดิน เป็น ดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย และดินทรายแป้ง โดยพิจารณาจากสัดส่วนผสมของอนุภาคทราย อนุภาคทรายแป้ง และอนุภาคดินเหนียว  ดินเนื้อหยาบมีคุณสมบัติให้น้ำไหลผ่านได้ดีกว่าดินที่มีเนื้อละเอียด ดังนั้นการปลูกพืชแต่ละชนิดจึงต้องการดินที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกัน




























ที่มา : http://www.lesa.biz/earth/lithosphere/soil/soil-properties

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น